สมาคมไทย-เนปาลี (ประเทศไทย) ปันน้ำใจ
เนื่องจากชุมชนบ้านอีต่อง-อีปู่ ผาแป 1. 2. 3. ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบหุบเขาของเทือกเขาตะนาวศรี ซึ้งกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ชาวบ้านอีต่องในอดีตมีการใช้ชีวิตทำเหมืองแร่ รับจ้าง ค้าขายชายแดนไทย-พม่า ไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่จะใช้ตะเกียงน้ำมันหรือเทียนในการให้แสงสว่าง ไม่มีระบบน้ำประปาใช้ ชาวบ้านจะอุปโภคบริโภคน้ำจากภูเขา จากลำห้วยและน้ำในบ่อบาดาลของหมู่บ้าน เป็นสังคมการทำแร่ อยู่อย่างไม่ฟุ่มเฟือย เพราะมีรายได้จากการทำเหมืองแร่ แต่ก็มีเงินทองเก็บสะสมไว้ให้ลูกหลานได้ใช้จ่ายในอนาคต ชาวบ้านชอบทำบุญตักบาตร มีผู้นำเป็นผู้ที่มีวัยวุฒิ โดยนับถือผู้เฒ่าผู้แก่
การใช้ชีวิตของชาวบ้านอีต่อง (สมัยดั้งเดิม)
การใช้ชีวิตของชาวบ้านอีต่อง (สมัยกลาง)
ก่อนที่จะเริ่มตั้งเป็นหมู่บ้านย้อนไปในอดีตสมัยที่ประเทศอังกฤษปกครองประเทศพม่าเป็นอาณานิคมประเทศอังกฤษได้เปิดกิจการทำเหมืองแร่ในประเทศพม่าหลายแห่ง เพื่อผลิตแร่นำกลับไปแปรรูปในอุตสาหกรรมต่างๆที่ประเทศอังกฤษ ตามแนวเขตเทือกเขาตะนาวศรี ด้านตะวันออกของประเทศพม่าก็เป็นพื้นที่หนึ่งที่อังกฤษได้ดำเนินการทำเหมืองแร่วุลแฟรมและแร่ดีบุก โดยเปิดทำการอยู่บริเวณเขาบูด่อง (ห่างจากบ้านอีต่องไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร)โดย(มีกรรมกรเป็นชาวพม่า กะเหรี่ยง มอญและแขกเนปาล )การทำเหมืองแร่ได้ขยายตัวเข้ามาในประเทศไทยโดยเริ่มมีการสำรวจพบแหล่งแร่วุลแฟลมจำนวนมาก ที่บริเวณหุบเขาแห่งหนึ่งซึ่งชาวพม่าเรียกว่า เขาณัตเอ่งต่อง (แปลว่า “ภูเขาแห่งเทพเจ้า “หรือ “เขาเทวดา” หลังการสำรวจพบได้เปิดทำเหมืองได้แล้วนำกลับไปยังประเทศพม่า
ในปีพ.ศ 2481 มีพรานล่าสัตว์ชาวกะเหรี่ยงชื่อนายพะแป แก้วแท้ และนายไผ่ ซึ่งเป็นราษฎรบ้านไร่ และบ้านปิล็อกคี่ ได้ล่าสัตว์มาจนถึงแนวชายแดนไทย-พม่า จนพบการทำเหมืองแร่ของชาวต่างชาติด้วยความที่พรานทั้งสองคน ไม่รู้ว่าสิ่งที่ชาวต่างชาติทำอยู่นั้นเป็นอะไรจึงได้เก็บตัวอย่างกลับไปที่บ้านของตนพร้อมกับเล่าเรื่องราวที่ไปพบมาให้กับผู้ใหญ่บ้านทราบเรื่องเมื่อผู้ใหญ่บ้านได้รู้เรื่องราวแล้วคาดเดาว่าของที่พรานลูกบ้านของตนนำมาให้ดูนั้นต้องเป็นแร่ที่มีราคาแน่นอน ยังไม่ทราบว่าเป็นแร่อะไรจึงได้รายงานให้เจ้าหน้าที่ อำเภอสังขระบุรี(อำเภอทองผาภูมิในปัจจุบัน) ได้ทราบและรายงานต่อไปตามลำดับจนถึงจังหวัด
ต่อมาในปีเดียวกันนั้น(พ.ศ. 2482 )ทางราชการได้ส่ง เจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณี เข้ามาทำการสำรวจบริเวรที่ชาวต่างชาติทำเหมืองแร่อยู่ อังกฤษจึงได้มีการทำเหมืองแร่อยู่ในเขตไทยบางแห่งจึงหยุดกิจการ คงมีแต่ชาวต่างชาติ(พม่า มอญ กะเหรี่ยงและเนปาล) ที่ยังดำเนินการอยู่ หลังจากเจ้าหน้าที่กองช่างฯ ได้สำรวจเเล้ว องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ(สมัยนั้น)ของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เข้ามาดำเนินการเปิดเหมือง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการทำเหมืองแร่ในเขตนี้ของไทยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ 2483
การเปิดเหมืองแร่ในครั้งนั้นได้มีการขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรส่วนกลางคอยคุ้มกันเจ้าหน้าที่ที่นำเงินมาจ่ายให้คนงาน ต่อมาในปีพ.ศ. 2496 ทางราชการได้ส่งกำลังตำรวจภูธรมาประจำอยู่ที่บ้านอีปู่ ให้มาดูแลและรักษาความปลอดภัยในช่วงนั้นจนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและฝ่ายต่างชาติโดยเฉพาะกรรมกรได้มีปัญหาเกิดขึ้น กล่าวคือกรรมกรต่างชาติ ได้นำแร่ไปขายให้อังกฤษ(ที่ปกครองพม่าอยู่)เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยสั่งห้าม แต่ไม่ได้ผลจึงเกิดการต่อต้านจากกรรมกรต่างชาติถึงขั้นมีการใช้อาวุธเข้าต่อสู้และมีผู้ล้มตายบริเวณทำเหมืองแร่อยู่จึงมีสภาพสภาพเสมือนเหมืองผีหลอก ซึ่งคำว่าผีหลอกนี้ชาวต่างชาติ(พม่า)ได้พูดเพี้ยนไปเป็นคำว่า “ปิล็อก”อันเป็นชื่อของเหมืองแร่ในเวลาต่อมา
องค์การเหมืองแร่ได้เปิดกิจการทำแร่ได้แล้วได้มีการชักชวนคนไทยในจังหวัดต่างๆโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งรู้จักมักคุ้นกับผู้ที่เคยทำเหมือง ให้เข้ามาอยู่ในเหมือง เข้ามาเป็นผู้ควบคุมคนงานของเหมือง เข้ามาทำการค้าขาย จึงเกิดเป็นหมู่บ้านขึ้นต่อมาได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อภูเขาที่พบแร่ คือ ณัตเอ่งต่อง แต่คนไทยได้พูดเพี้ยน หรืออาจจะเลือกให้สั้นเข้าจากคำว่า “ณัตเอ่งต่อง” เป็น “อีต่อง”มาจนทุกวันนี้
การสำรวจแหล่งแร่ของ เจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณี ได้ขยายพื้นที่ออกไปทางด้านทิศเหนือ และทิศใต้จนพบแหล่งแร่จำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่ด้านทิศใต้ของบ้านอีต่อง เจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณีจึงได้ชักชวนเอกชนที่รู้จักกันให้เข้ามาทำเหมืองหลายราย โดยเอกชนเหล่านั้นจะขออนุญาตองค์การเหมืองแร่ซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรทั้งหมดในพื้นที่ของตำบลปิล็อก โดยขอเป็นรายปี จึงเกิดเป็นเหมืองแร่หลายแห่ง พร้อมกับตั้งชื่อว่าเหมืองผาแป เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พรานผาแปร ผู้ซึ่งมาพบเหมืองแร่เป็นครั้งแรก เหมืองผาแปมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดหลายแห่ง ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของบ้านอีต่อง
เส้นทางที่ขึ้นมาที่บ้านอีต่องใช้ขุดเป็นแนวทางด้วยกรรมกร ผู้ที่เป็นหัวหน้าคนงานทำการขุดเส้นทางในสมัยนั้นคือนายซันตาราช ไรย์ ชาวเนปาล จากเชิงเขาถึงหมู่บ้านอีต่องระยะทาง ประมาณ35 กิโลเมตร เป็นคนที่เคยทำแร่มาจากจังหวัดภูเก็ต ซึ่งต้องใช้เวลาในการขุดเส้นทางจากบ้านเชิงเขาถึงบ้านอีต่องต้องใช้เวลา ไม่น้อยกว่า 2 ปี และเครื่องมือที่ใช้ในการขุดก็ไม่มีอะไรมากนอกจากจอก อีเต้อและเครื่องมืออื่นๆ
ต่อมาทางกรมทรัพยากรธรณี ได้นำเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาในเหมืองแร่ปิล็อกครั้งแรก เพื่อการทำการทำเหมือง การขนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบากต้องใช้ช้างบรรทุกและชักลากมีไข้ป่า (ไข้มาเลเรีย) ชุกชุมทำให้คนงานล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาเจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณีได้ทำเส้นทางเพื่อให้รถยนต์สามารถวิ่งได้จากการใช้แรงงานคนได้เปลี่ยนเป็นเครื่องจักร
ต่อมาทางกรมทรัพยากรธรณี ได้นำเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาในเหมืองแร่ปิล็อกครั้งแรก เพื่อการทำการทำเหมือง การขนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบากต้องใช้ช้างบรรทุกและชักลากมีไข้ป่า (ไข้มาเลเรีย) ชุกชุมทำให้คนงานล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อมาเจ้าหน้าที่กองช่าง กรมทรัพยากรธรณีได้ทำเส้นทางเพื่อให้รถยนต์สามารถวิ่งได้จากการใช้แรงงานคนได้เปลี่ยนเป็นเครื่องจักร
ในปีพ.ศ. 2496 กองโจรมอญประมาณ 100 คนเศษ ได้เข้าปล้นชุมชนตลาดบ้านอีต่อง พร้อมกับกวาดทรัพย์สินและทองรูปพรรณไปเป็นจำนวนมากทางราชการจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนประมาณ1 หมวดเข้าประจำการอยู่ในหมู่บ้านนับเป็นการเข้ามาประจำการครั้งแรกของกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดน(ฐาน ตชด 703) และในปีพ.ศ. 2517 สมเด็จย่า ได้เสด็จเยี่ยม ตชด
เป็นยุคสมัยที่เริ่มมีการใช้ไฟฟ้าด้วยเครื่องปั่นจากน้ำมัน โดยมีการบริหารงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน มีการออก กฎระเบียบใช้ในหมู่บ้าน มีการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน(ประเทศเมียนมาร์) เศรษฐกิจยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก เพราะแร่ดีบุกมีราคาสูงมากจึงทำให้เกิดมีประชากรทั้งคนไทยและต่างด้าว มาตั้งรกรากในหมู่บ้านอีต่องเป็นจำนวนมากมีโรงหนังขนาดใหญ่ 2 แห่ง ที่ให้ความบันเทิงแก่ชาวบ้าน เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านนัดพบกัน ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย การพนันมีทุกชนิดเป็นเมืองที่ไม่มีกลางวันและกลางคืน
การใช้ชีวิตของชาวบ้านอีต่อง (สมัยปัจจุบัน)
บ้านอีต่องเป็นหมู่บ้านชายแดนไทยที่เคยรุ่งเรืองจากการค้าแร่ในอดีต ปัจจุบันเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเงียบสงบในอดีตการค้าแร่จากเหมืองปิล็อกนั้นรุ่งเรืองมาก โดยจะขนส่งแร่ผ่านชายแดนเข้าสู่ประเทศเมียนม่าร์ ซึ่งทางเมืองของพม่า คือ เมืองกัมบ๊อก เมื่อเหมืองปิดลง บ้านอีต่องจึงเป็นเพียงหมู่บ้านชายแดนของไทยธรรมดาๆ ที่มีเสน่ห์ก็ตรงที่ความเงียบสงบอากาศก็ค่อนข้างหนาวเย็น สิ่งที่น่าสนใจ สิ่งที่น่าสนใจเห็นจะเป็นบริเวณชายแดน ซึ่งเป็นจุดที่เหมาะกับการท่องเที่ยวที่นี่ต่างจากชายแดนอื่นตรงไหน ต่างกันตรงที่ชายแดนที่นี่อยู่กันด้วยมิตรภาพเพียงแค่เนินลูกเล็กๆที่กั้นอาณาเขตของประเทศทั้งสองเอาไว้ และมีเพียงธงชาติที่ปักเอาคู่กันเท่านั้น ดูผิวเผินเหมือนเราตกลงกันแบ่งเขตด้วยวาจา แต่ทางพม่าเค้าไม่อนุญาตให้เราถ่ายรูปทางด้านประเทศของเขา เราทำได้เพียงเก็บความทรงจำเท่านั้นแต่ทางฝั่งไทยตามสบายจะถ่ายภาพกี่รูปก็ได้ เดินเข้าไปอีกนิดก็จะพบกับช่องเขาซึ่งเจาะเอาไว้ เพื่อทำการขนส่งสินค้าให้กันซึ่งสินค้าที่พบเห็นก็จะเป็นพวกกล้วยไม้ป่าที่นำมาเพาะเลี้ยงไว้ลองหันกลับเข้ามาในตัว หมู่บ้านพบกับสถานีท่อส่งก๊าซของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตั้งอยู่ด้วย มองเห็นตัวหมู่บ้านอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล นับว่าเป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งถ้ามีเวลาก็คงต้องลองเข้าไปเดินเล่นในตัวหมู่บ้านไปลองใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายดูสักหน่อย หรือจะไปเที่ยวต่อที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีไฟฟ้าใช้ทุกบ้าน ไฟฟ้าที่ใช้ในปัจจุบันเป็นไฟฟ้าที่ทางการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ทางการองค์การบริหารส่วนตำบลปิล็อก บริหารจัดการและขายกระแสไฟฟ้าให้ชุมชนในหมู่บ้านได้ใช้ แต่เศรษฐกิจในหมู่บ้านแย่มากชาวบ้านไม่มีงานทำจากที่เคยมีอาชีพค้าขายก็ไม่สามารถทำการค้าขายได้ เพราะทางฝั่งประเทศเมียนมาร์ ไม่เปิดการค้าขายชายแดนเหมือนกับทางด้านด่านเจดีย์สามองค์ เพราะ ห่วงในด้านความมั่นคงตามแนวท่อก๊าซ ส่วนการจะเก็บหาของป่าขายบ้างก็ติดกฎหมายป่าสงวนและอุทยาน การล่าสัตว์ก็ทำไม่ได้เพราะอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิมีกฎหมายที่เข้มงวดมาก หากฝ่าฝืนจะมีโทษทางกฎหมาย ส่วนจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมีจำนวนน้อยลงเพราะต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นที่ดีกว่าเป็นสังคมที่เริ่มเห็นแก่ตัวขึ้นไม่ค่อยมีรัก ไม่มีความสามัคคีเหมือนในอดีต สังเกตได้จากการรวมกันทั้งกิจกรรมต่างๆแล้วไม่ค่อยประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ ปัจจุบันมีการร่วมมือกันการทำงานมากมาย เช่นกลุ่มของสหกรณ์หมู่บ้านอีต่อง กองทุนเงินล้าน ฯลฯ บ้านอีต่อง ในยุคนี้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยว เพราะมีสถานที่ที่น่าเที่ยวหลายแห่ง ต้องร่วมด้วยช่วยกันระหว่างผู้นำกับชาวบ้าน รับรองว่าหมู่บ้านอีต่องต้องเจริญกว่านี้ และมีองค์การบริหารส่วนตำบลปิล็อกเป็นหน่วยงานที่ให้สิ่งที่ดีๆกับชาวบ้าน เป็นหน่วยงานที่คอยให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาของชาวบ้านตลอด จึงสังเกตและเห็นได้ว่าจุดเริ่มต้นของสมาคมไทย-เนปาลี (ประเทศไทย) เริ่มตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เป็นประวัติย่อๆของเหมืองปิล็อก (บ้านอีต่อง-อีปู่ ผาแป)
ดังนั้นสมาคมฯจึงเห็นสมควรในช่วงวิกฤตสถานการณ์โควิด-19 ได้บริจาคอาหาร ของใช้และอาหารกล่องพร้อมทานเรื่อยมา โดยได้ร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆทั้งในกทม ปริมณฑล และต่างจังหวัด ร่วมทำประโยชน์มาโดยตลอด
และในวันเสาร์ที่23 ตุลาคม 2564(ปิยะมหาราช) ได้มอบสิ่งของเพื่ออุปโภค-บริโภค 100 ชุด ชึ่งประกอบไปด้วย
– ข้าวสาร 5 กก.
– ปลากระป๋อง
– น้ำมันพืช
– น้ำปลา
– บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
– ไข่ไก่
– ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน
ณ. ชุมชนบ้านอีต่อง-อีปู่ หมู่ 1 ต.ปิล็อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โดยคุณอรุณี มหัตกีรติ (ผู้ใหญ่บ้าน) คุณครูจันทร์แรม ทิพย์มณฑล (อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหมืองแร่อีต่อง) จ.ส.ท ปิยะ รัตนขวัญเพชร ฉก.ลาดหญ้า (ชป.อีต่อง) คุณสมชาย ชาตรี (กุมาร การ์กี) รักษาการนายกสมาคมไทย-เนปาลี (ประเทศไทย) และคณะกรรมการสมาคมฯ เป็นตัวแทนจากสมาคมฯ ร่วมแจกถุงยังชีพหมู่บ้านละ50ชุด ให้กับชุมชน บ้านอีต่อง-อีปู่
ทางสมาคมฯ มีความยินดี ที่รักถิ่นฐานบ้านเกิดและขออนุโมทนาในการร่วมทำกุศลกรรม ทำประโยชน์ในครั้งนี้
สมาคมไทย-เนปาลี(ประเทศไทย)